ผลของการใช้กิจกรรมการสอนอ่านเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ทางวาจาระหว่างครูกับนักเรียน ที่มีต่อความสามารถในการอ่านเข้าใจความภาษาไทย

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่าน เข้าใจความภาษาไทยของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ระหว่างก่อนและหลังได้รับการสอนด้วยกิจกรรมการสอนอ่านเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ทางวาจา ระหว่างครูกับนักเรียนและเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเข้าใจความของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการสอนด้วยกิจกรรมการสอนอ่านเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ทางวาจาระหว่างครูกับนักเรียน กับกลุ่มที่ได้รับการสอนด้วยวิธีปกติ ใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพณิชยการพระนคร จํานวน 70 คนแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 35 คน โดยนักศึกษากลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มทดลอง ได้รับการสอนโดยใช้วิธีการสอนอ่านด้วยกิจกรรม การสอนอ่านเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ทางวาจาระหว่างครูกับนักเรียน และอีกกลุ่มหนึ่งได้รับการสอนด้วยวิธีปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองสอน ได้แก่ แบบฝึกอ่านความเข้าใจด้านภาษาไทย จํานวน 20 เรื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่าน เข้าใจความ จํานวน 2 ชุด ผู้วิจัยดําเนินการสอน ทั้ง 2กลุ่ม ใช้เวลาสอนกลุ่มละ 60 นาทีต่อครั้ง เป็นเวลา 20 ครั้ง หลังจากนั้นได้ทดสอบวัดความสามารถในการอ่านเข้าใจความหลังการทดลองสอน แล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที (t – test)ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

คะแนนการเปลี่ยนแปลงจากการทดสอบหลังการทดลอง (Post – test) ของกลุ่มทดลองที่ใช้วิธีการสอนอ่าน เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ทางวาจาระหว่างครูกับนักเรียน สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .001

  1. ยังไม่มีความคิดเห็น
  1. ยังไม่มี trackbacks