การสร้างและพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านเข้าใจความ เพื่อพัฒนาความ สามารถด้านการอ่านภาษาไทย ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตพณิชยการพระนคร

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของนักศึกษาที่มีต่อกิจกรรมนักศึกษา จําแนกตามเพศ ระดับการศึกษา แผนกวิชา อาชีพบิดา อาชีพมารดา รายได้ของครอบครัวต่อเดือนที่พักอาศัยของนักศึกษา ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเพศ ระดับการศึกษา แผนกวิชา อาชีพบิดา อาชีพมารดา รายได้ของครอบครัวต่อเดือน สถานภาพของบิดามารดาที่พักอาศัยของนักศึกษาต่อทัศนคติต่อกิจกรรมนักศึกษาและเพื่อค้นหาปัจจัยที่สามารถอธิบายความแปรปรวนของทัศนคติต่อกิจกรรม นักศึกษาให้ดีที่สุดของนักศึกษาทุกแผนกวิชา เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม โดยเก็บ รวบรวมจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ซึ่งเป็นนักศึกษาวิทยาเขตพณิชยการพระนครที่กําลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2544จํานวน 806 คน โดยการนําข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และหาค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์พหุคูณ (Multiple Correlation Coefficient)ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ กลุ่มตัวอย่างที่ทําการศึกษาเป็นนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพณิชยการพระนคร จำนวน 806 คน ข้อมูลเบื้องต้นพบว่าเป็นเพศหญิงมากกว่า เพศชาย ส่วนใหญ่กําลังศึกษาในระดับปวส. แผนกวิชาการบัญชี และการตลาด โดยนักศึกษาอาศัยอยู่กับบิดามารดาที่ประกอบอาชีพรับจ้างและค้าขาย ซึ่งมีรายได้ของครอบครัวต่อเดือนอยู่ระหว่าง 10,000–20,000 บาท ผลการศึกษาพบว่าทัศนคติของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพณิชยการพระนคร ต่อกิจกรรมนักศึกษาโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับเห็นด้วยมากคิดเป็นค่าเฉลี่ยรวมทุกด้านเท่ากับ 3.71 ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรพยากรณ์และตัวแปรทัศนคติของนักศึกษาต่อกิจกรรม นักศึกษา พบว่า ตัวแปรที่สัมพันธ์กันอย่างมีนัยสําคัญของสถิติที่ระดับ .01 และสัมพันธ์กันทางบวกมากที่สุด คือ ระดับการศึกษากับสถานภาพของบิดา มารดา ในขณะที่ตัวแปรที่มีผลต่อทัศนคติของนักศึกษา อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ ตัวแปรเพศ แผนกวิชา รายได้ ของครอบครัว ต่อเดือน สถานภาพของบิดามารดา และที่พักอาศัยของนักศึกษาซึ่งสามารถอธิบายความแปรปรวนของทัศนคติของนักศึกษาได้ร้อยละ 8.3

  1. ยังไม่มีความคิดเห็น
  1. ยังไม่มี trackbacks